วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

พื้นฐานการสร้างเว็บ

           ก่อนจะเริ่มต้นการสร้างเว็บเพจซักหนึ่งเว็บ เราควรทราบถึงความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างเว็บก่อน เพื่อจะทราบถึงความหมายและหลักการทำงานของเว็บว่าเป็นอย่างไร
คำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ 
Internetรูปภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต (Internet) คืออะไร
            อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งรวมเอาเครือข่ายย่อยเป็น จำนวนมากต่อเชื่อมภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ทำให้ทั่วโลกเชื่อมโยงกัน เป็นเครือข่ายเดียวกันได้ในแพลตฟอร์มของ เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)
           อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรธุรกิจ หน่วยงานของรัฐบาล สถานศึกษา ตลอดจนเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ข้อมูลสารสนเทศ สินค้า และบริการที่นำเสนอผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เหล่านี้สามารถเข้าถึงได้จาก คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ จากที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน สำนักงาน โรงเรียน ชายทะเล หรือร้านอาหารทั่วโลก
           ในปัจจุบันมีคนจากทั่วโลกนับพันล้านคนที่เข้าถึงบริการบนอินเทอร์เน็ต เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ อีเมล์ (e-mail) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ห้องคุย (chat room) การส่งสารทันที (instant messaging) และวอยซ์โอเวอร์ไอพีหรือวีโอไอพี (Voice over IP: VoIP)

เวิล์ดไวด์เว็บ
(World Wide Web) คืออะไร?

           เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) หรือเรียกสั้นๆ ว่าเว็บ เป็นการให้บริการข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) ที่ประกอบไปด้วยเอกสารจำนวนมากที่มีการเชื่อมโยงกัน ซึ่งเป็นแหล่งของข้อมูลขนาดใหญ่ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงผ่านโพรโทคอลที่เรียกว่า เอชทีทีพี (Hypertext Transfer Protocol: HTTP)
           เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) เป็นอินเตอร์เน็ตชนิดหนึ่งที่อยู่ในรูปแบบของกราฟิกและมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วยข้อความ (Text)  ภาพ (Graphic)  เสียง (Sound) และ ภาพเคลื่อนไหว (Movie) เป็นต้น ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าไปในเว็บได้ง่าย และจะได้รับข้อมูลครบถ้วนปัจจุบัน ถ้าพูดถึงอินเตอร์เน็ต คนทั่วไปจะเข้าใจว่าหมายถึงเว็บ ทั้งที่จริงแล้วเว็บเป็นส่วนหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น

 เว็บไซต์
 (Website) คืออะไร?

           เว็บไซต์ (Website) เป็นกลุ่มของเว็บเพจที่มีความเกี่ยวข้องกัน และอยู่ภายใต้ชื่อโดเมนเดียวกันเป็นแหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ ของแต่ละบริษัทหรือหน่วยงานโดยเรียกเอกสารแต่ละหน้าของเว็บไซต์ว่า เว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่า โฮมเพจ (Home Page)
           อาจกล่าวได้ว่า เว็บไซต์ก็คือ เว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Links) ถึงกัน หรือเปรียบได้กับหนังสือหนึ่งเล่ม ยกตัวอย่างเช่น http://www.swt.ac.th เป็น คือ เว็บไซต์ของโรงเรียนเสริมงามวิทยาคม
swtรูปแสดง เว็บไซต์โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม http://www.swt.ac.th
 
เว็บเพจ (Webpage) คืออะไร?
           เว็บเพจ (Webpage) เป็นหน้าเอกสารที่เขียนขึ้นในรูปแบบภาษาเอชทีเอ็มแอล (Hypertex Markup Language: HTML) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหน้าอื่นได้ โดยเรียกดูผ่านเว็บเบราว์เซอร์
           เว็บเพจ (Webpage) เป็นเอกสารที่ใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารซึ่งประกอบด้วยข้อความ ภาพ เสียง ภาพยนต์ กราฟิก และมัลติมีเดีย ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เว็บเพจจะถูกนำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์ และนำเสนอข้อมูลความรู้ต่าง ๆ จึงส่งผลทำให้แต่ละเว็บเพจมีความแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งาน ซึ่งอาจเปรียบเว็บเพจได้กับหน้าหนังสือแต่ละหน้านั่นเอง

โฮมเพจ (Homepage) คืออะไร?

           โฮมเพจ (Homepage) คือ คำที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ โดยเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์ เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา โฮมเพจก็จะเปรียบเสมือนกับเป็นสารบัญและคำนำที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นได้สร้างขึ้น เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ของตนเองหรือองค์กร นอกจากนี้ภายในโฮมเพจก็อาจมีเอกสารหรือข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่นๆ อีกด้วย

เว็บเบราว์เซอร์
(Web browser) อะไร?

           เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) เป็นโปรแกรมใช้สำหรับการแสดงเว็บเพจ และสามารถเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นในเว็บเพจเดียวกันหรือเว็บเพจอื่นผ่านการเชื่อมโยงหลายมิติ หรือไฮเปอร์ลิงค์ (hyperlink) เรียกสั้นๆว่า ลิงค์ (link)  
           เว็บเบราว์เซอร์ช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการใช้งานอินเทอร์เน็ต นอกเหนือไปจากการสื่อสารหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครือข่าย ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ เช่น Mozilla Firefox, Microsoft Internet Explorer, Apple Safali, Google Chrome และ Opera

เว็บเซิร์ฟเวอร์ (
Webserver) คืออะไร?

           เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Webserver) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการเว็บเพ็จ เมื่อผู้ใช้ร้องขอเว็บเพจผ่านเว็บเบราว์เซอร์ โดยใช้ยูอาร์แอล (uniform Resource Location: URL) ระบุตำแหน่งของเว็บเพจ เว็บเซิร์ฟเวอร์จะส่งเว็บเพจที่ค้นหาได้กลับไปแสดงผลผ่านเว็บเบราว์เซอร์ของผู้ใช้

เว็บโฮสติง (
Web Hosting) คืออะไร?

           เว็บโฮสติง (Web Hosting) เป็นการให้บริการพื้นที่สำหรับสร้าง และจัดเก็บเว็บไซต์ของหน่วยงาน หรือบุคคลทั่วไป เพื่อให้บุคคลอื่นเข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต

URL คืออะไร?
            URL (Uniform Resource Locator) คือ แหล่งที่อยู่ของเว็บไซต์ใดๆ  เพราะฉะนั้นเราสามารถเข้าถึง website หนึ่งได้ โดยการพิมพ์ URL เช่น URL ของโรงเรียนเสริมงามวิทยาคม คือ http://www.swt.ac.th

ไคลเอนต์ – เซิร์ฟเวอร์ (Client – Server) คืออะไร?

            ในการติดต่อสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่คอมพิวเตอร์ทั่วโลกเชื่อมโยงถึงกันนั้น จะมีการติดต่อสื่อสารอยู่ 2 แบบ แบบส่งข้อมูลและรับข้อมูล โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำการส่งข้อมูลเรียกว่า เครื่องให้บริการ (Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูล เราจะเรียกว่า เครื่องรับบริการ (Client)

การกำหนดที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต
 
เลขที่อยู่ไอพี
           IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด  ตัวอย่าง IP Address 192.168.0.1 เป็นต้น
           การกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address กำหนดขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อแจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครื่องทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็นผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
  1. Network Address
  2. Computer Address
การแบ่งขนาดของเครือข่าย
           เราสามารถแบ่งขนาดของการแจกจ่าย Network Address ได้ 3 ขนาดคือ
           1. Class A nnn.ccc.ccc.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 1-126)
           เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้มากที่สุดถึง 16 ล้านหมายเลข
           2. Class B nnn.nnn.ccc.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 128-191)
          เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้มากเป็นอันดับสอง คือ 65,000 หมายเลข
           3. Class c nnn.nnn.nnn.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 192-233)
           เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้น้อยที่สุด คือ 256 หมายเลข
           * nnn หมายถึง Network Address ccc หมายถึง Computer Address
หมายเลขต้องห้าม สำหรับ IP Address
สำหรับภายในองค์กร ก็มีหมายเลขต้องห้ามเช่นกัน
  1. 127.xxx.xxx.xxx หมายเลขนี้ใช้สื่อสารกับตัวเอง?
  2. 0.0.0.0?
ระบบชื่อโดเมน
           ชื่อโดเมน (Domain Name) ความหมายโดยทั่วไป คือ ชื่อเว็บไซต์ ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและการนำไปใช้งาน  เนื่องจากการจดจำหมายเลข IP ถึง 16 หลัก ทำให้ยุ่งยาก และไม่สามารถจำได้เวลาท่องไปในระบบอินเทอร์เน็ต
           ดังนั้นจึงกำหนดให้มีระบบชื่อโดเมน (Domain Name System: DNS) ซึ่งแปลงเลขที่อยู่ไอพีให้เป็นชื่อโดเมนที่อยู่ในรูปของชื่อย่อภาษาอังกฤษหลายส่วนคั่นด้วยเครื่องหมายจุด ซึ่งมักจะเป็นชื่อที่สื่อความหมายถึงหน่วยงาน วัตถุประสงค์ เนื้อหา หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ โดยแต่ละเว็บไซต์จะมีชื่อโดเมนเฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน ผู้ใช้สามารถจดทะเบียนชื่อโดเมนสำหรับคอมพิวเตอร์ของตนผ่านผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนที่ได้รับอนุญาต
หลักที่ใช้ในการตั้งชื่อ Domain name
           1. ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
           2. สามารถใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกับตัวเลข หรือเครื่องหมายขีด (-) ได้
           3. ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ ถือว่าเหมือนกัน
           4. ห้ามใช้เครื่องหมายขีด (-) นำหน้าชื่อ Domain name แต่สามารถใช้ในระหว่างคำได้
           5. ห้ามเว้นวรรคในชื่อ Domain
           6. การตั้งชื่อ Domain ควรสื่อ ถึงความหมาย ของเว็บไซต์เราให้มากที่สุด เนื่องจากมีผลต่อ Search Engine ( SEO )
รูปแบบการตั้ง Domain Name ตามหลักการของ Internet
               มีรูปแบบ 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ
1. โดเมนขั้นสูงสุด – Top Level Domain เป็นรูปแบบที่ยังสามารถแบ่งได้ อีก 2 แบบย่อย คือ
           * โดเมนเนมสากล หรือ gTLD (generic Top-Level Domain Name) เป็นการจัดแบ่งตามลักษณะการใช้งาน เช่น .com, .net, .org สามารถใช้ได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นประเทศใด
           * โดเมนเนมประจำสัญชาติ หรือ ccTLD (country code Top-Level Domain Name) เป็นหลักการจัดแบ่งตามลักษณะขอบเขตทางภูมิศาสตร์ หรือชื่อประเทศ เช่น .th (ไทย), .uk (อังกฤษ), .jp (ญี่ปุ่น), เป็นต้น
2. โดเมนขั้นที่สอง – Second Level Domain เป็น Sub โดเมนที่แบ่งออกจาก TLD โดยอยู่ตำแหน่งถัดจาก TLD มาทางด้านซ้ายมือ เช่น.ac สำหรับสถาบันทางการศึกษา .co สำหรับองค์กรธุรกิจ
3. โดเมนขั้นที่ 3 – Third Level Domain เป็น Sub โดเมนที่ถูกแบ่งออกจาก SLD อีกชั้นหนึ่งและมีตำแหน่งถัดจาก SLD ทางด้ายซ้ายมือ ใช้เป็นชื่อย่อขององค์กร เช่น thaihostclub เป็นต้น
           ส่วนประกอบสุดท้ายในชื่อโดเมนเรียกว่า ชื่อโดเมนระดับบนสุด (top-level domainname) ใช้สำหรับแยกกลุ่มของชื่อโดเมน ในกรณีที่ชื่อโดเมนระดับบนสุดเป็นชื่อโดเมนสากล ชื่อดังกล่าวเป็นส่วนที่ใช้บอกลักษณะขององค์ที่เป็นเจ้าของชื่อโดเมน ในกรณีที่เป็นชื่อโดเมนระดับประเทศ ชื่อดังกล่าวใช้บอกชื่อประเทศที่โดเมนนั้นตั้งอยู่ ตัวอย่างชื่อโดเมนระดับบนสุดแสดงดังตาราง
ตัวอย่างชื่อโดเมนระดับบนสุด

โดเมนระดับบนสุด

ย่อมาจาก

ความหมาย

.arpa
arpanet เป็นเครือข่ายในโครงการ Advanced  Research Project Agencies
.com
commercial เป็นเครือข่ายขององค์กรเอกชน
.gov
Government agency เป็นเครือข่ายของหน่วยงานภาครัฐบาล
.edu
educational เป็นเครือข่ายของหน่วยงานการศึกษาหรือมหาวิทยาลัย
.mil
United States Military เป็นเครือข่ายของหน่วยงานทหาร
.net
network เป็น Network operator หรือ บริษัท provider ต่าง ๆ
.org
organization เป็นเครือข่ายองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร
.biz
business เป็นเครือข่ายองค์กร บริษัท ห้างหุ้นส่วน คล้ายกับ .com
.info
information เป็นเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ
.int
international organizations เป็นเครือข่ายสำหรับองค์กรนานาชาติ
ชื่อย่อประเทศนั้น ๆ
ประเทศที่ตั้งเครือข่ายนั้นในอินเตอร์เน็ต เช่น .th หมายถึงเครือข่ายที่อยู่ในประเทศไทย
 


ตางรางแสดง รายชื่อ Domain Name ในประเทศไทย
Domain สากล
Domain
ในไทย
ย่อมาจาก
ความหมาย
.com
.co.th
Commerce of Thailand องค์กรธุรกิจภาคเอกชนในประเทศไทย
.gov
.go.th
Government of Thailand หน่วยงานภาครัฐบาลของประเทศไทย
.edu
.ac.th
Academic of Thailand สถาบันการศึกษาของประเทศไทย
.mil
.mi.th
Military of Thailand หน่วยงานทางการทหารของประเทศไทย
.org
.or.th
Organization of Thailand องค์กรที่ไม่หวังผลกำไรในประเทศไทย
.net
.net.th
Network of Thailand หน่วยงานด้านระบบเครือข่ายในไทย
.int
.in.th
Induval in thailand สำหรับบุคคลทั่ว ๆ ไปในประเทศไทย
ที่อยู่เว็บ
           ในการอ้างอิงตำแหน่งของแหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ผู้ใช้ร้องขอ เช่น เว็บเพจ สามารถทำได้โดยการระบุยูอาร์แอล (Uniform Resource Location: URL) ซึ่งมีรูปแบบดังนี้
  • โพรโทคอล ใช้สำหรับระบุมาตรฐานที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเว็บ เช่น เอชทีทีพี และเอฟทีพี (File Transfer Protocol: FTP ) ในกรณีของเอชทีทีพี ส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้สามารถจะละส่วนของโพรโทคอลนี้ได้  เนื่องจากถ้าไม่ระบุโพรโทคอล เว็บเบราว์เซอร์จะเข้าใจว่าผู้ใช้มีความประสงค์จะใช้โพรโทคอล เอชทีทีพีเพื่อเข้าถึงเว็บเพจ
  • ชื่อโดเมน ใช้สำหรับระบุชื่อโดเมนของเว็บเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการข้อมูล เช่น ชื่อโดเมน www.swt.ac.th
  • เส้นทางเข้าถึงไฟล์ (path) ใช้สำหรับระบุตำแหน่งของไฟล์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์
  • ชื่อข้อมูล ชื่อไฟล์ที่ร้องขอ เช่น ไฟล์ไฮเปอร์เท็กซ์ ไฟล์รูปภาพ ไฟล์วีดีทัศน์ ไฟล์เสียง
           ในกรณีที่ยูอาร์แอลระบุเฉพาะชื่อโดเมนโดยไม่ระบุเส้นทางเข้าถึงไฟล์ และ / หรือชื่อไฟล์ มีความหมายว่าให้เข้าถึงหน้าหลัก หรือโฮมเพจ (homepage) ของเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้น ซึ่งโดยทั่วไปเป็นการเข้าถึงชื่อไฟล์ที่กำหนดไว้ เช่น index.html, main.php และ default.asp
 swt
ตัวอย่างโฮมเพจของเว็บโรงเรียนเสริมงามวิทยาคม

โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างเว็บ
 
                โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจมีหลายโปรแกรม ขึ้นอยู่กับลักษณะการสร้างเว็บเพจ ดังนี้
 ‡ โปรแกรมที่ใช้เขียนเว็บเพจด้วยภาษา HTML
                การสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML จะเป็นการสร้างเว็บเพื่อให้เข้าใจโครงสร้างของภาษา และคำสั่ง ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างเว็บ  การสร้างเว็บด้วยภาษา HTML สามารถใช้โปรแกรม Text Editor ทั่วไป เช่น โปรแกรม Notepad ที่มาพร้อมกับ Windows  หรือโปรแกรม EditPlus เป็นต้น
 โปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บและจัดองค์ประกอบของหน้าเว็บ
                ปัจจุบันการจะผลิตเว็บไซต์ซักหนึ่งเว็บไม่ยากมากจนเกินไป เนื่องจากมีผู้ผลิตโปรแกรมสำเร็จรูปที่ช่วยสร้างเว็บไซต์ได้อย่างง่าย แค่คลิก ลาก วาง เลือก ก็ทำให้เว็บเพจออกมาสวยงามได้ แถมยังมีเครื่องมือที่ช่วยจัดวางหน้าเว็บ แทรกลูกเล่น หรือภาพเคลื่อนไหว โดยโปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บไซต์ เช่น Macromedia Dreamweaver, Microsoft FrontPage เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้เป็นโปรแกรมประเภท What You See Is What You Get (WYSIWYG) คือ จัดวางอย่างไรจะปรากฏรูปแบบอย่างนั้น โปรแกรมจะทากรสร้างโค้ด HTML ให้อัตโนมัติ 

อ้างอิง : http://krupiyadanai.wordpress.com